17-21 มกราคม


ตอบ 2
บรรจุภัณฑ์พลาสติกและโฟม
พลาสติก  แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
เทอโมพลาสติก  (thermoplastics) เป็นพลาสติกที่อ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน  และแข็งตัวเมื่อเย็นลง  พลาสติกประเภทนี้สามารถนำมาหลอมและขึ้นรูปใหม่ได้  กล่าวคือ รีไซเคิลได้  จึงนิยมใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์  ตัวพลาสติกประเภทนี้  ได้แก่  พลาสติกชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low-Polyethylene : LDPE), พลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง (High-Polyethylene : HDPE),  โพลีเอทธิลีน (Polyethylene: PE), โพลีโพรพิลีน (Polypropilene: PP), โพลิสไตรลีน (Polytrylene: PS), โพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride: PVC) โพลีเอทธิลีนเทเลพทาเลท (Polyethylene Terephthalate: PET)  เป็นต้น
เทอร์โมเซตติง (thermosetting)  เป็นพลาสติกที่แข็งตัวคงรูปอยู่ได้โดยอาศัยปฏิกิริยาเคมี ซึ่งปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นจะอาศัยความร้อนและความกดดัน  ภายหลังปฏิกิริยาเคมีก็จะแข็งตัวและเราไม่สามารถเปลี่ยนรูปหรือหลอมกลับมาใช้ใหม่ได้  กล่าวคือ  รีไซเคิลไม่ได้  ตัวอย่างพลาสติกประเภทนี้  ได้แก่  โพลียูเรเทน (PUR)  อีพอกซี่ (Epoxy) ฟีโนลิค (Phenolic) เมลามีน (Melamine)  เป็นต้น
โฟม  เป็นพลาสติกที่ฟูหรือทำให้ขยายตัวขณะขึ้นรูปโดยใช้ก๊าช  และโฟมที่มีการใช้งานแพร่หลายและเป็นภาระในกองขยะทุกวันนี้  คือ  พีเอสโฟม (Polystyrene  Fome) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
                Expandable Polystyrene/EPS  เป็นโฟมแผ่นหรือโฟม ก้อน  หรือมีรูปร่างตามแบบพิมพ์ส่วนใหญ่ใช้กัน
กระแทกในการบรรจุสินค้ามีค่า โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็คทรอนิคส์  และคอมพิวเตอร์  หรือใช้ในหมวกกันน๊อค  ใช้เป็นฉนวน  ใช้ผลิตกล่องน้ำแข็ง เป็นต้น
Polystyrene  Paper/PSP  เป็นโฟมที่ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร  ซึ่งมีสัดส่วนการใช้งานสูงมากเมื่อเทียบกับโฟม EPS  และค่อนข้างจัดการยากเนื่องจากปนเปื้อนอาหาร
               
การจัดการขยะมูลฝอยประเภทพลาสติกและโฟม  สามารถทำได้หลายวิธี
                การขุดหลุมแล้วนำไปฝัง (Burial) หรือนำไปถมดิน (Landfill) เป็นวิธีที่ใช้เวลาในการย่อยสลายนาน  ขยะบางประเภทไม่สามารถย่อยสลายในธรรมชาติได้  ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการฝังกลบและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งทางตรงและทางอ้อม
                การนำไปเผาเป็นเชื้อเพลิง (Incineration)  ต้องใช้อุณหภูมิสูงทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงและไม่สามารถใช้เตาเผาธรรมดาได้  เนื่องจากจะทำให้เกิดสารพิษ  เช่น  สารไดออกซินและสารอื่นๆ เป็นต้น  สารพิษอาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
                การนำกลับมาใช้ใหม่ผ่านกระบวนการรีไซเคิล (Recycle) และการใช้ซ้ำ (Reuse) เป็นการเลือกที่ให้ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดทางหนึ่ง  ในการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการในการนำขยะพลาสติกจากผู้บริโภคกลับเข้าสู่กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่

สัญลักษณ์มาตรฐานสำหรับพลาสติกเพื่อการรีไซเคิล
1. PETE ใช้ผลิตขวดบรรจุน้ำอัดลม ภาชนะบรรจุขนม
พรมเป็นต้น
2. HDPE นำกลับมาผลิตเป็นขวดบรรจุผลิตภัณฑ์ซักผ้า
ฝาขวดน้ำอัดลม ถังขยะ เครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น
3. V นำกลับมาผลิตเป็นท่อ รั้ว หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่สัมผัสกับอาหาร
4. LDPE นำกลับมาผลิตเป็นถุงชนิดต่างๆ
5. PP นำกลับมาผลิตเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ พรม
6.PS นำกลับมาผลิตเป็นตุ๊กตาเด็กเล่น ถาดใส่อาหาร
ฉนวน เป็นต้น
7. อื่นๆ

ตอบ4
ใช้สูตร C1V1=C2V2 ได้ครับ แต่ต้องทราบความเข้มข้น ตั้งต้นก่อนนะครับ
C1 คือความเข้มข้นตั้งต้น ( จะต้องทราบ )
V1 คือปริมาตรที่ต้องใช้ ของ ความเข้มข้นตั้งต้น
C2 คือ ความเข้มข้นที่ต้องการเตรียม
V2 คือปริมาตรทั้งหมดที่ต้องการเตรียม
วิธีคำนวณหาความเข้มข้นตั้งต้น (C1)
       จากข้อมูลฉลากข้างขวด จะมีรายละเอียดดังนี้
       % ของกรด(p)  , ค่าความหนาแน่น ( d ) , น้ำหนักมวลโมเลกุล(MW)
ความเข้มข้น C1  = (10 x p x d)/MW
เมื่อแทนค่า และ ได้ค่า C1 แล้วก็นำไปแทน ในสูตร ข้างบนได้เลยครับ
** โมล/ลบ.เดซิเมตร  คือ โมล/ลิตร  หรือ เรียกว่า โมลาร์

http://www.chemtrack.org/Board-Detail.asp?TID=0&ID=1164

                                                                            ตอบ 4
ฝนกรด
ฝนกรด หมายถึง น้ำฝนที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.6
ฝนกรด (Acid Rain) วัดได้จากการใช้เสกลที่เรียกว่า pH ซึ่งค่ายิ่งน้อยแสดงความเป็นกรดที่แรงขึ้น น้ำบริสุทธิ์มี pH เท่ากับ 7 น้ำฝนปกติมีความเป็นกรดเล็กน้อยเพราะว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่  ส่วนฝนกรดจะมี pH ต่ำกว่า 5.6 ฝนกรดส่วนมากพบในบริเวณศูนย์กลางอุตสาหกรรมได้แก่ ทวีปยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และจีน   ตะกอนกรดสามารถอยู่ในรูปของฝน หมอก  หิมะ และมีผลกระทบต่อพืช  สัตว์น้ำ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ   ลมที่พัดแรงสามารถพัดพาอนุภาคกรดไปพื้นที่อื่นได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร
การกำเนิดของฝนกรด  นักวิทยาศาสตร์พบว่า สาเหตุของฝนกรดคือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน
ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำฝน เกิดจากมลพิษ 2 ตัวหลัก คือ
1. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ทำให้เกิดกรด ซัลฟุริก (H2SO4)
2. ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ทำให้เกิดกรด ไนตริก (HNO3)
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตกระแสไฟฟ้า,โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ดีเซล เบนซิน ส่วนที่เกิดจากธรรมชาติ เช่นการระเบิดของภูเขาไฟ การระเหยจากน้ำทะเล  การเน่าเปื่อยของพืชและแพลงตอน มีน้อยมาก
กลไกการเปลี่ยนจากก๊าซ SO2 และ NOx เป็นตะกอนกรด
เกิดได้ทั้งในสถานะก๊าซและของเหลว
1.ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)
สถานะก๊าซ
เกิดทั้งหมด 2 ปฎิกิริยาด้วยกัน
1.1 โฟโต้ออกซิเดชั่นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดย UV ซึ่งมีศักยภาพสูงในการกระตุ้นโมเลกุลและนำไปสู่ออกซิเดชัน
1.2 ปฎิกิริยาของซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับออกซิเจนในบรรยากาศ ดังนี้
SO2 + O2 ---> 2SO3
SO3+H2O ---> H2SO4
แต่พบว่าปฎิกิริยาทั้ง 2 ปฎิกิริยา ไม่มีความสำคัญมากนัก เนื่องจากเกิดได้ช้ามาก ปฎิกิริยาที่มีความสำคัญ คือ
HO + SO2 (+M) ---> H2SO4
สถานะของเหลว
ในสถานะนี้ SO2 จะมี 3 รูป
[S (IV)] ---> [SO2 (aq)] + [HSO3-] + [SO3 2-]
ซึ่งเกิดการแตกตัว โดย 2 กระบวนการนี้
SO2 (aq) --> H+ + HSO3 2-
HSO3- (aq)---> H+ + SO3 2-
การเกิดออกซิเดชั่นของซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดโดยโมเลกุลของออกซิเจนกับตัวกระตุ้นจำพวกโลหะเช่น Fe3+ หรือ Mn2+ หรือทั้ง 2 อย่างรวมกัน  อย่างไรก็ตามการเกิดออกซิเดชั่นโดยโอโซนเป็นกระบวนการที่น่าสนใจเนื่องจากไม่ต้องมีตัวกระตุ้นและมีปริมาณในบรรยากาศมาก เช่น ปฎิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับตัวกลาง(Intermediate) และไอออนของกรด peroxymonosulfurous ดังสมการ
HSO3- + H2O2--->A-  +  H2O
A-  + H+ ---> H2SO4
2. ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx)
สถานะก๊าซ
ตัวการหลักในการเกิดกรดไนตริก คือ อนุมูลของไฮโดรเจน
HO  + NO2 [+M] ----> HONO2 (+M)
จากนั้นจะเกิดออกซิเดชันโดยออกซิเจนในบรรยากาศอีกมาก แต่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นตัวการหลักของการเกิดกรดไนตริก
สถานะของเหลว  มี 3 รูป
2N2O(g) + H2O (l) ---->2H+ + NO3- + NO2-
NO (g) + H2O (l) -----> 2H+ + 2NO3- + NO (g)
3N2O(g) + H2O (l) ----> 2H+  + 2NO3- + NO (g)
ปฎิกิริยาออกไซด์ของไนโตรเจน เหล่านี้เกิดที่ความกดบางระดับและมีเสถียรภาพต่ำ การเพิ่มขึ้นของปฎิกิริยาเกิดเมื่อมีตัวกระตุ้นจำพวกโลหะ
ผลกระทบของฝนกรด
พืช
ฝนกรดสามารถทำปฎิกิริยากับธาตุอาหารที่สำคัญของพืช เช่น Calcium, magnesium และ potassium ทำให้พืชไม่สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้ และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศยังไปปิดปากใบพืช ทำให้ความสามารถในการสังเคราะห์แสงลดลง
สัตว์
โดยเฉพาะสัตว์น้ำจะได้รับผลกระทบโดยตรง จากการศึกษาพบว่า ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ จากการศึกษาพบว่า จำนวนปลา Trout และ salmonในประเทศนอร์เวย์ได้ลดจำนวนลงเป็นจำนวนมากและในระยะยาวยังพบว่าปลาหยุดการผสมพันธุ์อีกด้วย นอกจากนี้สัตว์ที่อยู่ในลำดับขั้นที่สูงกว่าก็จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน
สิ่งก่อสร้าง
ฝนกรดสามารถละลาย Calcium carbonate ในหินเกิดการผุพัง เช่น ปิรามิดในประเทศอียิปต์ และ ทัชมาฮาลในประเทศอินเดีย
การควบคุมและป้องกัน  
สามารถทำได้โดยการลดตัวการที่จะทำให้เกิดฝนกรด โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยลง จะสามารถทำให้ค่าความเป็นกรดในน้ำฝนลดลงได้   สำหรับพวกเราควรระมัดระวัง การดื่มน้ำฝนที่เป็นกรดและสารพิษอื่นๆ ซึ่งตกลงมาผ่านอากาศที่เป็นมลพิษในเมืองใหญ่เช่น  กรุงเทพฯ พบว่าน้ำฝนมีความเป็นกรดสูง คือ pH อยู่ระหว่าง 3.5-5.0 โดยเฉพาะช่วงที่ฝนตกใหม่ๆ น้ำฝนจะไม่สะอาด ส่วนในชนบทที่อากาศสะอาด เราจะสามารถดื่มน้ำฝนได้อย่างปลอดภัย
ตอบ 1
อนุภาคมูลฐานของอะตอม
       ทุกอะตอมประกอบด้วยอนุภาคที่สำคัญคือ  โปรตอน, นิวตรอน และอิเล็กตรอน  โดยมีโปรตอนกับนิวตรอนอยู่ภายในนิวเคลียส  นิวเคลียสนี้จะครอบครองเนื้อที่ภายในอะตอมเพียงเล็กน้อย  และมีอิเล็กตรอนวิ่งรอบๆนิวเคลียสด้วยความเร็วสูง  คล้ายกับมีกลุ่มประจุลบปกคลุมอยู่โดยรอบ
อิเล็กตรอน(Electron) สัญลักษณ์ e- มีแระจุลบ และมีมวลน้อยมาก
โปรตอน สัญลักษณ์ p+ มีประจุเป็นบวก และมีมวลมากกว่า อิเล็กตรอน (เกือบ 2,000 เท่า)
นิวตรอน สัญลักษณ์ n มีประจุเป็นศูนย์ และมีมวลมากพอๆกับโปรตอน
หมายเหตุ อนุภาคนิวตรอน ค้นพบโดย เจมส์ แซควิก (James Chadwick) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ(พ.ศ.2475)

เลขอะตอม,เลขมวลและสัญลักษณ์นิวเคลียร์
1. จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสเรียกว่า เลขอะตอม(atomic number, Z)
2. ผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอนเรียกว่า เลขมวล(mass number, A)
A = Z + N โดยที่ N เป็นจำนวนนิวตรอน
(เลขเชิงมวลจะเป็นจำนวนเต็มและมีค่าใกล้เคียงกับมวลของอะตอม)
การเขียนสัญลักษณ์นิวเคลียร์
เขียน(A)ไว้ข้างบนด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ
เขียน(Z)ไว้ข้างล่างด้านซ้ายของสัญลักษณ์ธาตุ
X = สัญลักษณ์ของธาตุ

การหาอนุภาคมูลฐานของอะตอม จากสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ดังนั้น อะตอมของธาตุลิเทียม ( Li ) มีจำนวนโปรตอน = 3 ตัว อิเล็กตรอน = 3 ตัว และนิวตรอน = 4 ตัว

ตอบ 2
การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
1. อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด (ชั้น K)จะมีพลังงานต่ำที่สุด และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมาจะมีพลังงานสูงขี้นๆตามลำดับพลังงานของอิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน K < L < M < N < O < P < Q หรือชั้นที่ 1< 2 < 3 <4 < 5 < 6 < 7
2. ในแต่ละชั้นของระดับพลังงาน จะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 2n2 เมื่อ n = เลขชั้น    เลขชั้นของชั้น K=1,L=2,M=3,N=4,O=5,P=6 และ Q=7
ตัวอย่าง    จำนวน e- ในระดับพลังงานชั้น K มีได้ ไม่เกิน 2n2 = 2 x 12 = 2x1 = 2
              จำนวน e-ในระดับพลังงานชั้น N มีได้ ไม่เกิน 2n2
= 2 x 42 = 2x16 = 32
3. ในแต่ละระดับชั้นพลังงาน จะมีระดับพลังงานชั้นย่อยได้ ไม่เกิน 4 ชั้นย่อย และมีชื่อเรียกชั้นย่อย ดังนี้ s , p , d , f
ในแต่ละชั้นย่อย จะมีจำนวน e-ได้ ไม่เกิน ดังนี้
ระดับพลังงานชั้นย่อย s มี e- ได้ ไม่เกิน 2 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย p มี e- ได้ ไม่เกิน 6 ตัวระดับพลังงานชั้นย่อย d มี e-ได้ ไม่เกิน 10 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย f มี e-ได้ ไม่เกิน 14 ตัว
เขียนเป็น s2 p6 d10 f14

วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม



ตอบ 3
พลังงานนิวเคลียร์
พลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานรูปแบบหนึ่ง ที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ นิวเคลียร์ เป็นคำคุณศัพท์ของคำว่า นิวเคลียส ซึ่งเป็นแก่นกลางของอะตอมธาตุ ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคโปรตอน และนิวตรอน         ซึ่งยึดกันได้ด้วยแรงของอนุภาคไพออน
        พลังงานนิวเคลียรหมายถึง พลังงานไม่ว่าลักษณะใดๆก็ตาม ซึ่งเกิดจากนิวเคลียสอะตอมโดย
        พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น (Fission) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน
        พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน
        พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (Radioactivity) ซึ่งให้รังสีต่างๆ ออกมา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา และนิวตรอน เป็นต้น
        พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ (Particle Accelerator) เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น
        พลังงานนิวเคลียร์ บางครั้งใช้แทนกันกับคำว่า พลังงานปรมาณู นอกจากนี้พลังงานนิวเคลียร์ยังครอบคลุมไปถึงพลังงานรังสีเอ็กซ์ด้วย
   (พ.ร.บ. พลังงานเพื่อสันติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2508) พลังงานนิวเคลียร์ สามารถปลดปล่อยออกมาเป็นพลังงานหลายรูปแบบ เช่น พลังงานความร้อน
   รังสีแกมมา อนุภาคเบต้า   อนุภาคอัลฟา อนุภาคนิวตรอน เป็นต้น

        รูปแบบของพลังงานนิวเคลียร์ 
สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะวิธีการปลดปลิอยพลังงานออกมา คือ

        พลังงานนิวเคลียร์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาในลักษณะเฉียบพลัน

    เป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrolled reactions) พลังงานของปฏิกิริยาจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้เกิดการระเบิด (Nuclear Explosion) สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้หลักการเช่นนี้ ได้แก่ ระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) หรือระเบิดไฮโดรเจน และหัวรบนิวเคลียร์ แบบต่างๆ การใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในโครงการด้านสันติ เช่นการขุดหลุมลึก (Cratering) ขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น เคยมีโครงการจะนำมาใช้ขุดคลองที่คอคอดกระ จังหวัดระนอง เพื่อทำเป็นคลองน้ำลึก สำหรับให้เรือสินค้า เรือเดินสมุทรแล่นผ่านโดยไม่ต้องอ้อมประเทศมาเลเซีย การขุด อ่างเก็บน้ำ การทำท่าเรือน้ำลึก และการตัดช่องเขา เป็นต้น การขุดทำโพรงใต้ดิน(Contained Explosion) สำหรับกระตุ้นแหล่งน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติในชั้นหินลึก และในการผลิตแหล่งแร่ เป็นต้น



ตอบ3

ตอบ 2

ตอบ 3


1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26 มกราคม 2554 เวลา 00:31

    มีแต่โจทย์ ตรวจงานท้ายชั่วโมง

    ตอบลบ